วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษ: information and communication[s] technology; ไอซีที) เป็นศัพท์ที่มักใช้ในความหมายคล้ายกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) แต่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นโดยเน้นเรื่องบทบาทของการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (ยูซี) [1] กับบูรณาการของสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ โทรคมนาคม (ทั้งสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) คอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงซอฟต์แวร์วิสาหกิจ มิดเดิลแวร์ หน่วยเก็บข้อมูล และระบบโสตทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง เก็บบันทึก ส่งผ่าน และจัดดำเนินการสารสนเทศได้ [2]
นักวิจัยทางวิชาการเริ่มใช้ศัพท์ ไอซีที ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา [3] แต่มันเป็นที่นิยมหลังจากเดนนิส สตีเฟนสันใช้ศัพท์นี้ในรายงานเพื่อแถลงต่อรัฐบาลสหราชอาณาจักร เมื่อ ค.ศ. 1997 [4] และปรากฏในหลักสูตรแห่งชาติฉบับปรับปรุงของอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือเมื่อ ค.ศ. 2000
นอกจากนี้ศัพท์ ไอซีที ในปัจจุบันนี้ก็ยังหมายถึงการลู่เข้าของเครือข่ายโทรศัพท์และระบบโสตทัศน์ เข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านทางเคเบิลสายเดียวหรือระบบเชื่อมต่อหนึ่งเดียว มีสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เพื่อที่จะผสานระบบโสตทัศน์ การจัดการสิ่งปลูกสร้าง และเครือข่ายโทรศัพท์ เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบเคเบิล การจัดการและการกระจายสัญญาณ แบบรวมศูนย์เพียงหนึ่งเดียว ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างยิ่งเนื่องจากเครือข่ายโทรศัพท์จะถูกขจัดออกไป


 ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

        ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                คำว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ประกอบคำ 2 คำ ได้แก่  เทคโนโลยี  และ สารสนเทศ ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
                เทคโนโลยี (Technology) เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า TEXERE  มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to weave แปลว่า สาน  เรียบเรียง ถักทอ ปะติดปะต่อ   และ construct แปลว่า  สร้าง  ผูกเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดที่ก่อให้เกิด ส่วนเทคโนโลยี ในรากศัพท์ภาษากรีกมาจากคำว่า technologia แปลว่า การทำงานอย่างเป็นระบบ (systematic treatment) (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2539)
                คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Good, 1973) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
                เอดการ์ เดล (Dale, 1965) กล่าวว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการ วิธีการทำงานอย่างเป็นระบบที่ให้ผลบรรลุตามแผนการ
                  ไฮนิช และ คนอื่น ๆ (Heinech and Others, 1989) ได้อธิบายว่าเทคโนโลยีจำแนกออกเป็น 3ลักษณะ คือ
        1)  เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ(process) เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อและนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ 
        2)  เทคโนโลยีลักษณะของผลผลิต (product and product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี  เช่น  ฟิล์มภาพยนตร์เป็นผลผลิตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นเดียวกับเครื่องฉาย ภาพยนตร์  หรือหนังสือเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับแท่นพิมพ์หนังสือ  เป็นต้น
 3)  เทคโนโลยีลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) ซึ่งใช้ร่วมกันสองลักษณะ เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลจากความก้าวหน้าของการประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์เพื่อการรับส่ง ข้อมูล ตลอดจนเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วและในลักษณะของกระบวนการซึ่งไม่สามารถแยกออกจากผลผลิตได้ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องกับ โปรแกรม เป็นต้น
                ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2520) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่าตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Technology ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติการและสิ่งประดิษฐ์ที่อยู่ในรูปแบบของการจัดระบบงานอันประกอบด้วยองค์สาม คือ
           1)  ข้อมูล ที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ การตั้งวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องทุกแง่ทุกมุม
                2)  กระบวน การ ได้แก่ การลงมือปฏิบัติการ การแก้ปัญหา การจำแนกแจกแจง การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ 
                3)  ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือการดำเนินงาน สามารถวัดและประเมินผลได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน


แหล่งที่มา










บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มีบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
 ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
-   ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
-   การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
 สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
 สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผน การออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
- ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
- กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
 สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล เป็นต้น

-   ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

แหล่งที่มา

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

         ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึกข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

ขั้นตอนของระบบสารสนเทศ

มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน


1.      ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
2.      ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
3.       ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
4.       บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
5.       ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ


ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด
 หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

ขั้นตอนการปฏิบัต เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ


ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง : อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และ ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วย
อุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า (input devices)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing unit)
อุปกรณ์แสดงผล (output devices)
อุปกรณ์ความจำสำรอง (Secondary Storage devices)
     1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรม ต่างๆ ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บ ไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์เมาส์, Joystick ฯลฯ
     1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
          1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit)
          1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit)
          1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำหรือเก็บคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ส่ง มาจากหน่วยคำนวณ หน่วยความจำอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยเก็บ ข้อมูล
     1.3 หน่วยแสดงผล
เป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพเครื่องพิมพ์เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น 

แหล่งที่มา

http://group4-408.blogspot.com/2012/03/blog-post_31.html


ระบบและวิธีการเชิงระบบ

 ระบบและวิธีการเชิงระบบ

  ระบบ เป็นการรวมกันขององค์ประกอบย่อยๆ ที่ทำหน้าที่ของตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อดำเนินงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  โดยระบบนั้นอาจเกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ทุกระบบจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) ปัจจัยนำเข้า (input) ได้แก่ จุดมุ่งหมาย ทรัพยากร ปัญหาต่างๆ 2) กระบวนการ (process) ได้แก่ ขั้นตอนการทำกิจกรรมหรือการดำเนินงาน และ 3) ผลลัพธ์ (output) ซึ่งเป็นผลงานหรือผลผลิตที่ได้    ส่วนวิธีการเชิงระบบ (systematic approach) หรือวิธีระบบ (system approach) หรือเรียกได้    อีกอย่างหนึ่งว่าการจัดระบบ เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหา เพื่อเพิ่ม      ประสิทธิภาพของงาน   โดยวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง      พัฒนาวิธีการบริหารจัดการและประเมินผลที่ได้ เพื่อปรับปรุงงาน  จนกว่าจะมีประสิทธิภาพตามต้องการ  (รสสุคนธ์ มกรมณี, 2543; เฉลียว บุรีภักดี, 2542)  
          ฉลองชัย สุรวัฒนบุรณ์ (2544) กล่าวว่าวิธีระบบเป็นระบบวิธีการแก้ไขด้วยตนเองเชิงตรรกวิทยา สำหรับการตัดสินใจที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาสรรพสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ยุทธวิธีของระเบียบวิธีนี้ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การประกอบกิจ การจำแนกหน้าที่และ องค์ประกอบต่างๆ การจัดเวลา การฝึกระบบและการทดสอบระบบ     การติดตั้งและการควบคุมเชิงคุณภาพ  ขณะที่ กิดานันท์ มลิทอง (2540) อธิบายว่า วิธีระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหา สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการดำเนินการทดลอง     อันนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้ผลดีก็จะถูกนำมาทดลองใช้ แต่ถ้านำมาใช้แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะต้องมีการทดลองวิธีใหม่ต่อไปจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง นั่นคือสามารถแก้ปัญหาได้เป็นผลสำเร็จ 
          การออกแบบระบบใหม่หรือพัฒนาระบบเก่าให้สามารถปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ทรัพยากร คน เวลา และค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ต้องอาศัยการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) ซึ่งเป็นการพิสูจน์องค์ประกอบและความสัมพันธ์ภายในของระบบ เพื่อหาปัญหาในการออกแบบระบบและการกำหนดหน้าที่ของระบบ (Heinich, Molenda & Russell, 1989) หรือเป็นวิธีการวิเคราะห์ระบบใดระบบหนึ่ง โดยมีการคาดหมายและจุดมุ่งหมายที่ต้องการปรับปรุงแก้ไขระบบนั้น ด้วยการศึกษา ตรวจสอบ พิจารณาแยกแยะองค์ประกอบย่อย หน้าที่และความสัมพันธ์ เพื่อหาปัญหาออกมาให้ได้ แล้วกำหนดปัญหาเป็นหัวข้อเพื่อทำการศึกษาและหาวิธีการแก้ไข 
          วิธีการเชิงระบบที่ใช้วิเคราะห์ระบบมีการดำเนินงาน 8 ขั้นตอน ซึ่งประจักษ์ เฉิดโฉม และศิษฐ์ วงษ์กมลเศรษฐ์ (2537) กล่าวไว้ดังนี้คือ 1) ปัญหา (identify problem) รวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหา 2) จุดมุ่งหมาย (objective) กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ปัญหา 3) ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (constraints) พิจารณาขอบเขตเพื่อการศึกษาข้อจำกัด   ระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในระบบ     4) ทางเลือก (alternative) ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหา 5) การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (selection) หาทางแก้ปัญหาที่จะสามารถแก้ปัญหาได้จริง 6) การทดลองปฏิบัติ (implementation) ทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย 7) การประเมินผล (evaluation) หาจุดดีจุดด้อย  และ 8) การปรับปรุงแก้ไข (modification) ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง และนำส่วนดีไปปฏิบัติ   อย่างไรก็ตาม รสสุคนธ์ มกรมณี (2543)  อธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ 8 ขั้นตอน แตกต่าง    ไปบ้างเล็กน้อย คือ 1) การระบุปัญหา 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายหรือความจำเป็นในการ      ดำเนินงานแก้ไขปัญหา 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ  พิจารณาขอบเขตการศึกษาข้อจำกัด และระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในระบบ 4) การค้นหาทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และเลือกวิธีการต่างๆ สำหรับการแก้ปัญหา 5) การพิจารณาและตัดสินใจกำหนดทางเลือกที่มีความเป็นไปได้สูงในการแก้ปัญหาได้สำเร็จ 6) การออกแบบวิธีหรือระบบที่ใช้ในการ        แก้ปัญหา 7) การนำวิธีหรือระบบไปใช้แก้ปัญหา และ 8) การประเมินผลการแก้ปัญหา และการตรวจสอบย้อนกลับหากผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจ   
          ขั้นตอนของวิธีการเชิงระบบ (กิดานันท์ มลิทอง, 2540; รสสุคนธ์ มกรมณี, 2543) สามารถสรุปได้ 10 ขั้นตอน ดังนี้คือ
     ขั้นที่ 1  การกำหนดปัญหา เป็นการระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหาให้ชัดเจน รวมทั้งจัดลำดับความจำเป็นของปัญหาให้เห็นว่าปัญหาใดควรได้รับการพิจารณาก่อนหรือหลัง
     ขั้นที่ 2  การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการค้นคว้าข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา และระดับความสัมพันธ์กับปัญหาว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด 
     ขั้นที่ 3  การวิเคราะห์ทางเลือก เป็นการศึกษาวิเคราะห์และแสวงหาทางเลือกหลายๆ แนวทางหรือหลายๆ ระบบ โดยแต่ละแนวทางจะต้องวิเคราะห์ให้เห็นข้อดี ข้อจำกัด 
     ขั้นที่ 4  การกำหนดความเป็นไปได้ เป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับนำไปดำเนินการ
     ขั้นที่ 5  การพัฒนาโครงสร้างของระบบ เป็นการนำเสนอโครงร่างของระบบ โดยแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเอกสาร ข้อมูล ที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน
     ขั้นที่ การพัฒนาระบบนำร่องหรือระบบต้นแบบ เป็นการทดสอบความเป็นไปได้ของระบบที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ขั้นที่ 7  การออกแบบระบบ เป็นการพัฒนากลไกที่จะทำให้ระบบสามารถดำเนินงานได้
     ขั้นที่ 8  การพัฒนาโครงการ เป็นการพัฒนาโครงการของระบบที่ออกแบบไว้ตาม      รายละเอียดที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว ซึ่งในการพัฒนาโครงการจะต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจนและสมบูรณ์ แสดงความสอดคล้องขององค์ประกอบในโครงการหรือในระบบหลักทั้งหมด รวมทั้งกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของโครงการนั้น
     ขั้นที่ 9  การนำระบบไปใช้งาน โดยมีการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ   ผู้ปฏิบัติได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ความเข้าใจวิธีการดำเนินงานและทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ ของระบบใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น
     ขั้นที่ 10 การติดตามและประเมินผลระบบ เป็นการติดตามการดำเนินงานของระบบ โดยกำหนดจุดตรวจสอบไว้เป็นระยะหรือทุกขั้นตอน เพื่อให้ทราบถึงปัญหา ความบกพร่อง ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพตามต้องการ 
          ดังนั้น วิธีการเชิงระบบ หรือวิธีระบบ หรือ การจัดระบบ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้การดำเนินงานเรื่องหนึ่งเรื่องใด บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหาเชิงตรรกะเช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการระบุความต้องการหรือกำหนดปัญหา ค้นหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำการเลือกคำตอบ ทางเลือกหรือวิธีการต่างๆ แล้วนำไปใช้จนได้ผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยผลลัพธ์ที่ได้มีการประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขตามที่กำหนดไว้ในส่วนต่างๆ ของระบบ จนได้รับผลตามความต้องการอย่างครบถ้วน  ซึ่งเมื่อพิจารณาขั้นตอนเหล่านี้เปรียบเทียบกับรูปแบบการแก้ปัญหาทั่วไปที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น จะเห็นได้ว่าวิธีการเชิงระบบระบบเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหา จากคุณลักษณะต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาเหล่านี้ ทำให้ผู้วิจัยเห็นว่าวิธีการเชิงระบบมีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับนำมาประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐาน ในการออกแบบโครงสร้างและการพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี

แหล่งที่มา

อินเตอร์เน็ต

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก



ที่มา : http://school.obec.go.th/mrPaisan/e-learning/information/content/internet1.htm

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
     ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (InternetArchitecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
     ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
     ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
     ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
     สำหรับการใช้งาน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นการใช้งานในภาครัฐ โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นจุดแรก ประมาณ พ.ศ. 2530 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC จัดสรรเงินทุน งบประมาณ เพื่อการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งหมด เข้าด้วยกัน สำหรับ ในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติการ จัดตั้งให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP รายแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบของ


แหล่งที่มา

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
    ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
  • สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
  • ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
  • นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
  • ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
  • สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ ( Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
  • การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
  • สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
  • สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
  • การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว
  • แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

แหล่งที่มา
http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/internet/5.htm

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
                 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็ว  มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยผ่านสายสื่อสาร  ซึ่งเราเรียกว่า  การเชื่อมต่อแบบเครือข่าย (Network) ถ้าต่อเชื่อมกันใกล้ ๆ ในพื้นที่เดียวกันเรียกว่า LAN (Local Area Network) ถ้าการเชื่อมต่อเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN เรียกว่า MAN (Metropolitan Area Network) ถ้าเชื่อมต่อกันไกล ๆเช่น ข้ามประเทศเรียกว่า WAN (Wide Area Network)การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น  ข้อมูลต่าง    ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมาก  และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด  และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด  สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  ซึ่งผู้บริหารและองค์กรที่เล็งเห็นถึงประโยชน์  จากการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชาญฉลาดในการสื่อสารข้อมูลต่าง    อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น  ที่จะได้พบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้มีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ  ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันสูง  และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการเพิ่มขีดความสามารถและความชาญฉลาดเข้าไปในระบบเครือข่ายอย่างมากมาย  ผลที่ตามมาก็คือ  โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับการสื่อสารทั้งทางด้านเสียง  ภาพและข้อมูลในระบบเครือข่าย  หรือถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าก็อาจจะเรียกสั้น    ได้ว่าเป็นระบบเครือข่ายสารสนเทศอัจฉริยะ  ซึ่งจะเป็นระบบสารสนเทศที่ประกอบไปด้วยความคล่องตัว ปลอดภัย  มีประสิทธิภาพ  และสามารถปรับแต่ง  หรือเพิ่มขยายได้โดยทุกส่วนขององค์ประกอบที่ได้กล่าวมานั้น  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งในเชิงธุรกิจแล้วนั้นจะมีผลกระทบโดยตรงต่อเป้าหมายขององค์กรธุรกิจ  จากการที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศได้เข้ามาผลักดันให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและย่นระยะเวาลาในการดำเนินโครงการต่าง   ซึ่งหมายความว่า  องค์กรนั้น    จะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามสภาวะการณ์ของตลาดในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ได้ย่นย่อโลกของเราให้เล็กลงอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนอินเทอร์เน็ต  (Internet) เทคโนโลยีเครือข่ายในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่า  เป็นแรงผลักดันในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  และช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน  การเล่น  และการเรียนรู้  สำหรับผู้บริหารที่มองโลกในแง่ดีสักหน่อยก็คงเห็นด้วยว่าการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสารสนเทศมาใช้งานนั้น  สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางภาครัฐหรือภาคเอกชน  เทคโนโลยีเครือข่ายที่มักจะนำมาใช้นั้นที่เรารู้จักกันอย่างก็คือ  “อินเทอร์เน็ต  (Internet)”
อินเทอร์เน็ต  (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง  แต่เนื่องจากมีขนาดใหญ่  มีผู้ใช้งานหลายสิบล้านคนกระจายไปทั่วโลก  จึงมีข้อมูลมากมายมหาศาลแลกเปลี่ยนกันในเครือข่าย  สำหรับประเทศไทยนั้น  อินเทอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530 –2535  โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์สถาบันการศึกษาโดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเซีย  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  เจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นสถาบันแรก  ๆ  แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม  2535  จึงมีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์  โดยบริษัทแรกที่เปิดดำเนินการเป็นผู้บริการอินเทอร์เน็ต  ISP  คือบริษัท  KSC  คอมเมอเชียล  อินเทอร์เน็ต  หลังจากนั้นก็มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  ซึ่งขณะนี้เวิร์ลด์ไวด์เว็บ  (www.)  กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา  อย่างไรก็ตาม  อินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น  เน็ต  (Net)  หรือ  The  Net  ด้วยเช่นเดียวกัน  อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเทอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World–Wide–Web) จริง    แล้ว  เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น  แต่บริการนี้ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดบริการต่าง    ของอินเตอร์เน็ต WWW  (World  Wide  Web)  คือ  บริการข่าวสารผ่านทางหน้าเอกสารอินเทอร์เน็ต  (เว็บเพจ)  มีรูปแบบเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น    เช่น  นิตยสารและหนังสือ  แต่มีข้อดีที่ตัวหนังสือของเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น    ได้ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย  และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั่วโลกได้ทันทีในราคาถูก  ข้อมูลมีทั้งรูปภาพ  ข้อความ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  และวีดีโด  ข้อมูลอยู่ในรูป  Interactive  Multimedia
FTP (File Transfer Protocol) คือ บริการไฟล์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เราสามารถนำไฟล์รูปภาพ เสียง ฯลฯ ลงมาเก็บที่เครื่องของเราโดยผ่านโปรแกรมในการเชื่อมต่อหรือผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ได้E–mail (electronic mail) คือ บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถเหมือนกับจดหมายจริง ๆ แต่ส่งผ่านไปหรือรับทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน ทำให้เร็วและประหยัดกว่าการส่งจดหมายแบบเดิมIRC  (Internet  Relay  Chat)  เป็นแหล่งพูดคุยกันในอินเทอร์เน็ต  สามารถคุยโต้ตอบกันได้ทันที  โยการพิมพ์ข้อความ  โดยผ่านโปรแกรม
เช่น  Pirch,  ICQ,  Qq–thai  เป็นต้นค้นหาข้อมูล  (Search Engine) เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเราจึงจำเป็นต้องมีการค้นหาเพื่อให้รวดเร็วและสะดวก ประหยัดเวลาด้วยHome – page ผู้บริหารสามารถทำ Home – page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง                การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต  (E–Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสร้าง Home–page และใส่รายละเอียดของสินค้าลงไป ถ้ามีผู้สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและเจรจาต่อรองหรือสั่งซื้อได้เลยปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้ได้สะดวกสบายขึ้น  มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ  สำหรับผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์พกพา  โน๊ตบุคส์หรือค้นหาข้อมูล  (Search Engine) เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเราจึงจำเป็นต้องมีการค้นหาเพื่อให้รวดเร็วและสะดวก ประหยัดเวลาด้วยHome – page ผู้บริหารสามารถทำ Home – page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง                การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต  (E–Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสร้าง Home–page และใส่รายละเอียดของสินค้าลงไป ถ้ามีผู้สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและเจรจาต่อรองหรือสั่งซื้อได้เลยปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้ได้สะดวกสบายขึ้น  มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ  สำหรับผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์พกพา  โน๊ตบุคส์หรือค้นหาข้อมูล  (Search Engine) เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเราจึงจำเป็นต้องมีการค้นหาเพื่อให้รวดเร็วและสะดวก ประหยัดเวลาด้วยHome – page ผู้บริหารสามารถทำ Home – page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง                การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต  (E–Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสร้าง Home–page และใส่รายละเอียดของสินค้าลงไป ถ้ามีผู้สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและเจรจาต่อรองหรือสั่งซื้อได้เลยปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้ได้สะดวกสบายขึ้น  มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ  สำหรับผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์พกพา  โน๊ตบุคส์หรือค้นหาข้อมูล  (Search Engine) เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเราจึงจำเป็นต้องมีการค้นหาเพื่อให้รวดเร็วและสะดวก ประหยัดเวลาด้วยHome – page ผู้บริหารสามารถทำ Home – page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง                การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต  (E–Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสร้าง Home–page และใส่รายละเอียดของสินค้าลงไป ถ้ามีผู้สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและเจรจาต่อรองหรือสั่งซื้อได้เลยปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้ได้สะดวกสบายขึ้น  มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ  สำหรับผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์พกพา  โน๊ตบุคส์หรือแลปท็อป  ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้ในทุกสถานที่ในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติธุรกิจจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติธุรกิจจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติธุรกิจจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจแบบอีบิสิเนส  (e – Business) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกระบวนการของการทำงานในองค์กรธุรกิจทั่วไปและการสร้างประบวนการโต้ตอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์กร เช่น การนำระบบการจัดซื้อออนไลน์ (e–Procurement) หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือระดับกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมการทำธุรกิจออนไลน์ (e-Commerce) เข้ามาใช้ในการติดต่อสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอกองค์กร หรือแม้กระทั่งการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในการสื่อสารภายในองค์กร เช่น การจัดให้มีระบบ Intranet ขึ้นในองค์กรเพื่อใช้ในการแจ้งถึงนโยบายและวิธีการปฏิบัติต่างให้กับพนักงานตลอดจนมีการพัฒนามาใช้ในการฝึกอบรม (e-learning) ภายในองค์กรซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก


แหล่งที่มา
http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-4-2.htm